มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คณะสาธารณสุขศาสตร์
  Faculty of Public Health

เกี่ยวกับคณะ

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเอกลักษณ์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์


 

ปรัชญา

 ความรู้คู่คุณธรรม นำสร้างเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม


 

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในระดับอาเซียน

 


พันธกิจ

 

1 ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ

2 สร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมด้านสาธารณสุข

3 บริการวิชาการด้านสาธารณสุขแก่ชุมชน

4 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสาธารณสุข

5 บริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี


 

วัตถุประสงค์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์

1. จัดการศึกษาด้านสาธารณสุขให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

2. จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีเจตคติ ทักษะกระบวนการ ความรู้ความสามารถทางด้านสาธารณสุข และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ได้

3. ส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์ในการที่จะพัฒนาตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีการศึกษาค้นคว้าและวิจัยงานทางด้านสาธารณสุขในการแก้ปัญหาให้กับท้องถิ่น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติ

 


 

เอกลักษณ์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์

ที่พึ่งด้านสุขภาพของท้องถิ่น

 


 

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)

1. เป็นนักวิชาชีพสาธารณสุข ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุข เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 

2. คิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล และวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพของชุมชนชนบท ชุมชนเมือง และชุมชนอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นองค์รวม

3. วางแผนแก้ปัญหา และปฏิบัติงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกําหนด

4. ให้บริการวิชาการสาธารณสุขและสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนและหน่วยงานอื่นๆ ได้    5. ทํางานเป็นทีม มีมนุษย์สัมพันธ์ มีทักษะการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

1. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ การคาดการณ์ ตระหนัก ประเมิน และควบคุม ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งควบคุมอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ โดยสามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัยไม่เกิดความเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงานสอดคล้องตามกฎหมายหรือมาตรฐานทางวิชาการ

2. มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สามารถเลือกใช้เทคนิคทางระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการ

ทำงาน สามารถใช้ข้อมูลสถิติ ระบาดวิทยามาวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบต่อสุขภาพอย่างเหมาะสม

3. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล

4. มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ และสามารถสื่อสารกับบุคคลกลุ่มต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสื่อสารด้วยภาษาสากล

5. มีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายสาธารณสุข และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

6. มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิต มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและด้านสาธารณสุข

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม) ได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ดังนี้

1. มีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถบูรณาการองค์ความรู้ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและป้องกันการเสื่อมคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

2. สำรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์ปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเพื่อบ่งชี้ และประเมินผลกระทบรวมทั้งความเสี่ยงด้านต่างๆ

3. เก็บตัวอย่างวิเคราะห์และวางแผนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนดูแลควบคุมระบบควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ศึกษาค้นคว้าหาความรู้และประสบการณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งความรู้อื่น ๆ โดยใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนางาน และองค์ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

5. บริหารจัดการและให้การอบรมทางวิชาสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย และเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนดำเนินการตามกฎหมาย

6. ควบคุมคุณภาพของสภาพแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ได้

7. ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์อันเป็นผลสืบเนื่องจากกิจกรรมนั้นๆ

8. ดำเนินงานเป็นระบบตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์ คุณธรรม และจริยธรรม และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างระบบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อหนุนสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 

1. มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ภายใต้กรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย

2. มีความสามารถค้นหาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยใช้ความรู้ทางสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพ สถานการณ์ปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และวางแผนแก้ปัญหาสาธารณสุขได้

3. วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลงานวิจัย หรือดำเนินการวิจัยได้อย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยและวางแผนพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทสังคม

4. สามารถประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ วางแผน บริหารจัดการ กำกับดูแลโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย ได้อย่างมีประสิทฺธิภาพ

5. มีทักษะในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม

6. มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานเป็นทีมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับท้องถิ่นประเทศ และนานาประเทศได้

 

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

1. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีดุลยพินิจเชิงจริยธรรมที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม

2. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเนื้อหาทางวิชาชีพ มีความชำนาญในการปฏิบัติวิชาชีพสาธารณสุขเฉพาะด้าน

3. สามารถประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการ และจัดการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่มีความซับซ้อนได้ โดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ ความรู้ และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎีบนพื้นฐานขององค์ความรู้ระดับสูงและความเข้าใจในปัญหาอย่างถูกต้อง

4. สามารถทำวิจัย และเผยแพร่ผลงานผ่านกระบวนการจัดการความรู้ บูรณาการสร้าง องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านวิชาชีพสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

5. สามารถบริหารจัดการทรัพยากร ระบบบริการสุขภาพขององค์กร เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพสำหรับประชากรทุกกลุ่ม

6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม ใช้การสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร


 

อัตลักษณ์ของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ 

“สำนึกดี มีความรู้ พร้อมสู้งาน บริการด้วยจิตอาสา”

สำนึกดี หมายถึง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสำนึกและตระหนักในความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพ มีสำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น

มีความรู้  หมายถึง มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี

พร้อมสู้งาน หมายถึง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อุทิศเวลาให้กับงาน มีภาวะผู้นำในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่ม ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

บริการด้วยจิตอาสา  หมายถึง การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และพร้อมที่จะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อให้ผู้อื่นบรรลุจุดมุ่งหมายที่ต้องการ


 

บุคลากรประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์

1. บุคลากรสายวิชาการ

มีจำนวน 24 คน ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 5 คน เหลือปฏิบัติงานจริง 19 คน

 

ตำแหน่งทาง

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

 

ปริญญาเอก

 

อาจารย์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

รองศาสตราจารย์

 

ศาสตราจารย์

0

 

0

 

 

0

 

0

13

 

1

 

 

0

 

0

6

 

2

 

 

2

 

0

 

รวม

 

0

 

14

 

10

 

 

 

2. บุคลากรสายสนับสนุน

 

มีจำนวน 6 คน ประกอบด้วย นักวิชาการศึกษา และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

 

ตำแหน่ง

 

ต่ำกว่าปริญญาตรี

 

ปริญญาตรี

 

ปริญญาโท

 

นักวิชาการศึกษา

 

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

 

0

 

0

 

3

 

2

 

1

 

1

 

รวม

 

0

 

5

 

2

 


 

สภาพทางกายภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีอาคารปฏิบัติการรวม (อาคาร 38) เป็นอาคารหลัก ประกอบด้วย สำนักงานคณบดี ห้องพักอาจารย์ ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ ดังนี้

1. สำนักงานคณบดี

อาคารปฏิบัติการรวม (อาคาร38) ชั้น 3 ห้อง 38.03.24

2. ห้องพักอาจารย์

1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน) อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.21

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.22

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม) อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.23

4. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรดุษฎีบัณฑิต) อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.14

3. ห้องปฏิบัติการ

1. ห้องปฏิบัติการระบายอากาศ จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.16

2. ห้องปฏิบัติการน้ำ จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.17

3. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.18

4. ห้องปฏิบัติการทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.03.19

5. ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.04.16

6.  ห้องปฏิบัติการอากาศ จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.04.23

7. ห้องปฏิบัติการปฐมพยาบาลและบำบัดโรคเบื้องต้น จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.04.20

8. ห้องปฏิบัติการดูแลสุขภาพที่บ้าน จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.04.21

9. ห้องปฏิบัติการโภชนศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง อาคาร 38 ชั้น 3 ห้อง 38.04.17

10. ห้องปฏิบัติการดูแลสุขภาพด้วยข้อปฏิบัติ 8 ประการ (ยา 8 ขนาน) จำนวน 1 ห้อง อาคาร  วิทยบริการ ชั้น 1

4. ห้องเรียน

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเป็นผู้จัดห้องเรียนในแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งห้องเรียนจะประกอบด้วย อาคาร 38 และอาคาร 31 


 

แผนยุทธศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์ 

 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562